ชีวิตของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคในญี่ปุ่น

- การแนะนำชีวิตในญี่ปุ่น เกี่ยวกับชีวิตในญี่ปุ่น -

.- มุมมองการทำงาน สถานที่ทำงาน

สถานที่ทำงานจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานที่ของการทำงาน แต่จะอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเช่นเดียวกันกับคนญี่ปุ่น บริษัทผู้รับสมัครจะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ, สัญญาจ้างงาน รวมถึงแผนการอบรมก่อนการเดินทาง และผู้ฝึกงานด้านเทคนิคยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติตามกฎในสถานที่ทำงานและกฎการใช้ชีวิตในท้องถิ่น 

แม้จะเป็นจำนวนที่เล็กน้อย แต่ก็มีการรายงานปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและมีความหลากหลาย เช่น การค้างชำระค่าจ้างรวมถึงค่าล่วงเวลา, การทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน, การถูกข่มเหงและล่วงละเมิดทางเพศโดยผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังมีการรายงานปัญหาทางฝั่งของผู้ฝึกงาน เช่น การหายตัวไปของผู้ฝึกงาน เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรายงานของทางฝั่งบริษัทผู้รับสมัครมากกว่า 

ในการแก้ปัญหา คุณสามารถขอรับการปรึกษากับทางผู้จัดการขององค์กรกำกับดูแล, JITCO (Japan International Training Cooperation Organization), OTIT (Organization for Technical Intern Training for Foreigners),หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ เป็นต้น คุณสามารถมั่นใจได้ว่าชาวต่างชาติชาวญี่ปุ่นที่ประจำยู่ที่ญี่ปุ่นจะช่วยเหลือและสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา ขึ้นอยู่ว่าในกรณีใด ในบางกรณีสามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงได้ ดังนั้นโปรดปรึกษาโดยปราศจาคความวิตกกังวล หรือความไม่พอใจจากเหตุผลต่างๆ เช่น การที่ไม่เข้าใจในภาษา เป็นต้น หากคุณมีปัญหาหรือข้อกังวลใดๆ เราแนะนำให้คุณปรึกษากับผู้อาวุโสในที่ทำงาน หรือคนรู้จักที่มีประสบการณ์ในฐานะผู้ฝึกงานด้านเทคนิค 

ข้อควรรู้

การกระทำดังกล่าวของบริษัทผู้รับสมัครเป็นการละเมิดแนวทางการรับผู้สมัครงานด้านเทคนิค !!

หอพัก

มี 3 ประเภท ได้แก่ 1. อาศัยอยู่ในบ้านที่มีบริษัทผู้รับสมัครเป็นเจ้าของ 2. อาศัยอยู่ในบ้านที่เช่าโดยบริษัทผู้รับสมัคร และ  3. เช่าและอาศัยอยู่เองโดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทผู้รับสมัคร 
โดยปกติจะเป็นตัวเลือก 1 และ 2  ค่าที่พักจะถูกหักออกจากเงินเดือนทุกๆเดือน ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพของสถานที่นั้นๆ แต่สามารถคำนวณคร่าวๆได้คือ 20,000 ถึง 25,000 เยน / เดือน 

ข้อควรรู้

1. บริษัทผู้รับสมัครมีหน้าที่รักษาห้องให้มีขนาด 7.5 ตารางเมตรหรือมากกว่าต่อคน สามารถที่จะแชร์ห้องหรือแชร์บ้านร่วมกันได้ แต่ในกรณีนี้จะต้องตกลงกันว่าจำนวนขนาดของพื้นที่ห้องนั่งเล่นทั้งหมดหารด้วยจำนวนผู้พักอาศัยทั้งหมดต้องเป็น 7.5 ตารางเมตร 

2. เป็นไปได้ที่ในปีแรกผู้ฝึกงานด้านเทคนิคจะเช่าที่พักด้วยตนเอง แต่การทำสัญญาเช่าต้องวางเงินประกัน (1-2 เดือนของค่าเช่า) และเงินที่ต้องให้แก่เจ้าของบ้าน (1 เดือนของค่าเช่า) ยังมีปัญหาอื่น เช่น ปัญหาด้านภาษา , คนค้ำประกันและเจ้าของบ้านหลายรายที่ไม่ต้องการให้คนต่างชาติเช่ายืมบ้าน มีบางกรณีเช่น เมื่อสรุปสัญญาจ้างงาน สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบกับหน่วยงานที่ส่งเกี่ยวกับเงื่อนไขการพำนักและจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกด้วย  

อาหาร

เรื่องอาหารนั้นเป็นในส่วนของผู้ฝึกงาน โดยส่วนใหญ่ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคจะเตรียมอาหารกลางวันมาเองเพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย

เวลาว่าง

ส่วนมากแล้วการใช้เวลาว่างในวันหยุดสำหรับผู้ฝึกงานด้านเทคนิคคือ การไปซื้อของเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้เคียง ในระหว่างที่พบปะกันก็จะมีการซื้ออาหาร วัตถุดิบและขนมเอาไว้สำหรับในอาทิตย์นั้นๆ และมีการนำมาอาหารของตนมาจัดงานสังสรรค์ปาร์ตี้ที่สนุกสนาน การพูดคุยส่งเสียงดังเพื่อปลดปล่อยความเครียดเป็นเรื่องทั่วไปที่มักจะปฏิบัติกัน ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคหลายรายมักจะซื้อรถจักรยานเพื่อใช้ในการขับขี่และซื้อของใช้ และผู้ฝึกงานด้านเทคนิคจำนวนมากมักจะเข้าร่วมกลุ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นซึ่งถูกจัดโดยกลุ่มอาสาสมัครในท้องที่เพื่อพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นของพวกเขา 

- บัญชีรายรับ-รายจ่าย -

รายละเอียดเงินเดือน

กรุณาสังเกตที่สลิปเงินเดือนข้างต้น 

คุณจะเห็นได้ว่าค่าประกันและค่าภาษีที่สามารถลดหย่อนได้ในญี่ปุ่นนั้นสูงกว่าในประเทศไทยมาก 

รายการค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่จะถูกหักจากเงินเดือน

1. ค่าประกันสุขภาพ 
ลูกจ้างและเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ต้องเข้าร่วม ผู้ประกันตนมีหน้าที่ในการรับผิดชอบเพียง 30% ของภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาลของสถาบันทางการแพทย์
หมายเหตุ : ประเภทของการดูแลสุขภาพแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมของบริษัทผู้รับสมัครและประเภทของธุรกิจ 
*การประกันภัยอาจจะไม่ได้รวมอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของการรักษา

2. สวัสดิการบำนาญ 
ลูกจ้าง พนักงานธุรกิจ ข้าราชการและผู้ที่ทำงานในบริษัท มีหน้าที่ที่ต้องเข้าร่วม โดยที่นายจ้างและลูกจ้างชำระกันคนละครึ่งนึ่ง รัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นผู้รวบรวม จัดการ ผลประโยชย์ โดยจะต้องเข้าร่วมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี เมื่อครบกำหนดคุณจะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนจากทางรัฐบาลญี่ปุ่น 

จุดสำคัญ
เงินสวัสดิการบำนาญสามารถขอคืนหลังจากเดินทางกลับประเทศไทย
เงินสวัสดิการบำนาญจะไม่ได้รับหากไม่มีการสำรองเงินก่อนอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองมากสำหรับผู้ฝึกงานด้านเทคนิค ด้วยเหตุนี้ การบริการเงินบำนาญญี่ปุ่นจึงมีการจัดตั้งระบบการคืนเงินแบบการถอนเงินก้อนโดยมีเงื่อนไขว่า คุณจะต้องเป็นชาวต่างชาติที่ไม่ใช่สัญชาติญี่ปุ่นและชำระเงินบำนาญเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหรือมากกว่า และคุณจะต้องทำการขอคืนภายใน 2 ปี นับจากวันที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่น ดังนั้นไม่ควรลืมที่จะทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อยหลังจากการฝึกงานด้านเทคนิคสิ้นสุดลง การคืนเงินจะมีการคืนโดยตรงไปยังบัญชีของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคที่เปิดในประเทศของตน หากคุณไม่ได้ข้อมูลก่อนการเดินทางกลับประเทศไทย กรุณาติดต่อบริษัทผู้รับสมัครหรือองค์กรกำกับดูแลในการขอคืนเงินจำนวนนี้ 

*ยอดเงินจำนวนมากที่จะได้รับคืน 

3. การประกันการจ้างงาน 
ลูกจ้างที่ทำงานให้กับบริษัท (ชั่งโมงการทำงาน 20 ชั่วโมงหรือมากกว่า) จะต้องเข้าร่วม  หากคุณอยู่ในภาวะว่างงานคุณจะได้รับเงินจนกว่าที่จะสามารถหางานใหม่ได้ 

4. ภาษีเงินได้ 
เป็นภาษีที่คุณจะต้องชำระให้กับประเทศ ที่ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีระบบภาษีเช่นเดียวกันกับประเทศไทย โดยอัตราของภาษีจะเปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ 

5. ภาษีที่อยู่อาศัย 
เป็นภาษีที่ต้องชำระให้กับรัฐบาลท้องถิ่นที่พักอาศัย และใช้สำหรับการบริการสาธารณะ เช่น การเก็บขยะ เป็นต้น

ข้อควรรู้

ภาษีเงินได้ และภาษีที่อยู่อาศัยสามารถนำไปหักลดหย่อนได้ในกรณีที่มีครอบครัวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ 
หลังจากที่เข้าประเทศญี่ปุ่นแล้ว ผู้รับผิดชอบขององค์กรที่กำกับดูแลจะทำการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่าย กรุณาอย่าลืมที่จะกรอกเอกสารและใบสมัครนั้น ค่าใช่จายที่ถูกหักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เช่น พ่อแม่ ลูก ปู่ย่าตายาย คู่สมรส (ภรรยา/สามี) พ่อแม่ของคู่สมรส ปู่ย่าตายายของคู่สมรส ทั้งหมดนี้สามารถหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้ ยิ่งมีจำนวนผู้ในอุปการะมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีการหักลดหย่อนได้มากขึ้น  ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคที่เข้ารับการฝึกอบรมบางรายสามารถลดหย่อนได้โดยภาษีเท่ากับศูนย์ หรือ ไม่เสียเลยก็มี จะเห็นได้ภาษีที่เกิดขึ้น กับเงินเดือนที่ได้รับจริงมียอดที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นอย่าลืมที่จะกรอกและสมัครเอกสารฉบับนี้ หากท่านไม่ได้รับเอกสารสมัครนี้กรุณาติดต่อสอบถามกับทางผู้รับผิดชอบขององค์กรที่กำกับดูแล

ค่าครองชีพของผู้ฝึกงานด้านเทคนิค

ค่าครองชีพ 

1. ค่าที่พัก
เดือนละ 20,000 – 30,000 บาท จะถูกหักจากเงินเดือน รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น  ค่าน้ำและค่าไฟฟ้า 

2. ค่าอาหาร 
เนื่องจากผู้ฝึกงานด้านเทคนิคส่วนใหญ่จะทำอาหารเอง ดังนั้นจะเป็นเพียงค่าวัตถุดิบประมาณเดือนละ 20,000 – 30,000 บาท 

3. ค่าสาธารณูปโภค 
ประมาณ 3,000 – 5,000 เยน ต่อเดือน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะรวมอยู่ในค่าใช้ของค่าที่พักเรียบร้อยแล้ว 

4. ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง 
ในกรณีของผู้ชาย จะใช้ในการสังสรรค์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บ้าน แต่มีความแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล 

5. ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคมักจะติดต่อครอบครัวและเพื่อนโดยใช้อินเตอร์เน็ต มีบางกรณีที่ทางบริษัทมีอุปกรณ์และอินเตอร์เน็ตไว้ในที่พักอาศัย หรือเตรียมให้แก่ผู้ฝึกอบรมเรียบร้อยแล้วแต่ต้องชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ผู้ฝึกงานจะใช้เพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือที่นำมาจากประเทศไทย บางคนก็จะใช้เพียง Free Wifi ที่มีให้ในบริษัท ที่สาธารณะ ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น 

6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 
ในกรณีของวัยรุ่นจะใช้ในเรื่องของแฟชั่นเครื่องสำอางเครื่องประดับซึ่งมีความหลายหลาย

จุดสำคัญ
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคส่วนใหญ่มักจะมีภาระหนี้สินในประเทศ ดังนั้นพวกเขาจะค่อนข้างประหยัดในปีแรก แต่ในปีที่ 2 และ 3 หลังจากที่ชำระคืนแล้ว พวกเขาจะเริ่มใช้จ่ายเงินมากขึ้นสำหรับการซื้อของ, ความบันเทิง และงานอดิเรก ค่าใช้จ่ายจะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหาร และค่าครองชีพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล

- เสียงจากผู้ฝึกงานด้านเทคนิค -

- ประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบไหน ? -

เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

ชื่ออย่างเป็นทางการ

ญี่ปุ่น

พื้นที่

377,923 ตารางกิโลเมตร

ประชากร

125.57 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2563)

เมืองหลวง

โตเกียว

ระบอบการเมือง

ระบอบรัฐธรรมนูญ

กลุ่มชาติพันธุ์

คนญี่ปุ่น 98.1% คนเกาหลี 0.5% คนจีน 0.4% ชาติอื่นๆ 1%

ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลามรวมน้อยกว่า 1%

ภาษา

ภาษาญี่ปุ่น

สกุลเงิน

เยน

แรงดันไฟฟ้าและรูปร่างปลั๊ก

100V. ความถี่ 50Hz ในตะวันออกของญี่ปุ่นและ 60Hz ทางตะวันตกของญี่ปุ่นรูปทรงปลั๊กเป็นแบบ A

น้ำประปา

สามารถดื่มได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ

การให้ทิป

ไม่นิยมการให้ทิป

สภาพอากาศ

พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น แต่บางพื้นที่เป็นกึ่งเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนมี 4 ฤดู
และมีความต่างมากระหว่างระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ฤดูร้อนพื้นดินมีความร้อนชื้นมาก มีปริมาณน้ำฝนและพายุใต้ฝุ่นจำนวนมาก ส่วนฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมฝั่งทะเลของญี่ปุ่นและมีแดดจัดในฝั่งแปซิฟิค
คลุมฝั่งทะเลของญี่ปุ่นและมีแดดจัดในฝั่งแปซิฟิค
พื้นที่แห่งนี้ถือเป็นวงแหวนไฟแห่งแปซิฟิค และมีจุดเสียอยู่มากจึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวหลายๆครั้ง ได้มีการพัฒนาในเรื่องจัดตั้งมาตราการในการป้องกันภัยพิบัติมากม่าย เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม

ภาษี

10% (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2562)

สถานที่ท่องเที่ยว

ญี่ปุ่นเป็นประเทศทีมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปทั่วโลกในฐานะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งของเมืองใหญ่ เ ช่น โตเกียวและโอซาก้าที่มีการพัฒนาโครงสร้างของพื้นฐานเมือง แต่ในส่วนของประเทศที่เป็นเกาะก็อุดมไปด้วยภูเขาและพื้นดินก็อุดมไปด้วยธรรมชาตินานาพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างฝั่งลึก

โตเกียว
ภูเขาไฟฟูจิ
เกียวโต
บ่อน้ำพุร้อนฮาโกเน่

อาหาร

อาการญี่ปุ่นได้รับความสนใจไปทั่วโลก ซูชิและเทมปุระเป็นที่รู้จักกันดี ยังมีไคเซกิซึ่งเป็นอาหารที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีอาหารมากมายที่มีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ เช่น ราเม็ง แกงกระหรี อาหารญี่ปุ่นยังเป็นอาหารที่มีความสมดุลและโภชนาทางอาหารยอมเยี่ยมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอาหารท้องถิ่นมากมายที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนั้นๆ 

ซูชิ
ไคเซกิ
ราเม็ง

วัฒนธรรม

มีวัฒนธรรมดั้งเดิมหลายอย่าง เช่น การเต้นรำโนห์, คาบูกิ, การประดิษฐ์ตัวอักษร, การจัดดอกไม้, การชงชา, กิโมโน ฯลฯ

คาบูกิ
การจัดดอกไม้

ภาพลักษณ์ของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างไร ?

ดูเหมือนต่างชาติจะเข้าใจว่าคนญี่ปุ่น เป็นคนจริงจัง, ขยันทำงาน, สุภาพ, สะอาด และตรงต่อเวลา แต่ในอีกทางหนึ่ง